วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 13


แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
- การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
- การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
- การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
- ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
- รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
- การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
- ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)
- การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น(Involving Local Communities)
- ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Consulting Stakeholders and the Public)
- การพัฒนาบุคลากร (Training Staff)
- จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม( Marketing Tourism Responsibly)
- ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย (Undertaking Research)
ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity)
หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ
ดังนั้นขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรท่องเที่ยวจึงวัดได้ด้วยปริมาณนักท่องเที่ยวสูงสุดที่สามารถอยู่ได้ในทุกเวลา ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหนึ่งๆ ในปริมาณที่จะทำให้สภาพแวดล้อมถูกทำลายน้อยที่สุด ยังคงรักษาสภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไว้มากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวมีความพอใจและได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม รวมถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในท้องถิ่นด้วย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ( The International Ecotourism Society)ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศว่า
Eco Tourism: Responsible Travel to natural areas that conserves the environment and improves the well-being of local people
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
การท่องเที่ยวนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
-เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
-เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
-มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
-มีการจัดการด้านการให้ความรู้
-มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
-เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นมีอยู่หลายแบบ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมหลัก 10 ประเภท ได้แก่

1.กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)
2.กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)
3.กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ (Nature Photography, Video Tapping And Sound of Nature Audio Taping)
4.กิจกรรมส่อง/ ดูนก (Bird Watching)
5.กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ (Cave Exploring/ Visiting)
6.กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ (Sky Interpretation)
7.กิจกรรมล่องเรือศึกษาธรรมชาติ (Boat Sightseeing)
8.กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือคายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ Sailing)
9.กิจกรรมดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น (Snorkel Skin Diving)
10.กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving)
กิจกรรมเสริม 9 ประเภท ได้แก่
1.กิจกรรมชมทิวทัศน์ธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบ (Relaxing)
2.กิจกรรมขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ (Terrain/ Mountain Biking)
3.กิจกรรมปีน/ ไต่เขา (Rock/ Mountain Climbing)
4.กิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์ (Tent Camping)
5.กิจกรรมเครื่องร่อนขนาดเล็ก (Hang Glider)
6.กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)
7.กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหาร (Picnicking)
8.กิจกรรมเที่ยวน้ำตก (Waterfall Visits/ Exploring)
9.กิจกรรมวินด์เซิร์ฟ (Windsurfing)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)
เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
ลักษณะสำคัญ
- เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
- เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในด้านของกระบวนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ การสร้างเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติของท้องถิ่น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
-การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน

-การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ
-การปศุสัตว์
-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 12


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (one to many)
-ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
-เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
-คือการที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
-ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่าง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
Discussion Forum/ Web-board
Customer Loyalty
Electronic mail
E-Newsletter
ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์
www.airasia.com
www.thaiairways.com
การระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 11


องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
-องค์กรระหว่างประเทศ
-องค์กรภายในประเทศ
จุดมุ่งหมายเพื่อ
-เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
-เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
-เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
-มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก
-องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”
องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
-คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
-วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
1.สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3. การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก
สมาชิกของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น
1.สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3.การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน
เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
สมาคมนี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกัน
ปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
เป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าว สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 10


กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
-กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
-กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
-กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
-กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
ททท. มีมติแต่งตั้งนายสุรพล เศวตเศรนี เป็นผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ เริ่มงาน 1 ม.ค. 53 เหตุยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด และรักษาการรองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. มีผล 31 ธ.ค.
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
-ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาในงาน "9 ปี สทท.สู่ก้าวย่างที่กล้าแกร่งคู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย" ในโอกาสครบรอบ 9 ปี ของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท.
โดยมี กงกฤช หิรัญกิจ, เยาวลักษณ์ และ สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ให้การต้อนรับที่ รร.โซฟิเทลเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์
1.พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ
3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
4.พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525
-เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
5.พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน
6.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย
7.พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121
-เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
9.เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
10.พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
-การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯ
-การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯ
-การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง
11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535
ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน
ห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไป
ห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบ
วัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............
12 .พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
-กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของ-พื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
-ข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง
13 พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128
กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา
วัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้น
เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ
14 พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528
-ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้น
-ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ)ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น
15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว
16.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย
17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543
-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว
4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว22 ฉบับ
4.1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
-การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
-กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจาก-มัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง
-การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในแต่ละภูมิภาค
4.2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
-เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว
-การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ
4.3 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ
-ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร
4.4 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
-เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานของภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือกิจการประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น
-มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน
4.5 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
4.6 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
4.7 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534 และ 2544 เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
4.8 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น
4.9 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น
4.10 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้
4.11 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
-การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น
-รฟท.ต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
4.12 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
-กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
-รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ
-ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
-ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
4.13 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
-เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถและอุบัติเหตุจากรถยนต์
4.14 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล
4.15 กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง
4.16 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
-การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
4.17 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
-การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ
4.18 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515 มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง
4.19 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540
การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน
4.20 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522 เป็น
การใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณ สัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน
4.21 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว
4.22 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538
เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” แต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด”

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 9


ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
-ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ
-ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล
-ช่วยให้เกิดการจ้างงาน
ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
-ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น
-มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
-ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
-ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
-ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
-คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”

-ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
-การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงาน
ในเมืองหลวง
-ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
-ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
-เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
-มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
คุณค่าของงานศิลปะลดลง

-วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
-วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ของคนในท้องถิ่น
-การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม
-คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
-ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน
ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
-เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
-เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
-เกิดความตระหนักในการกำจัดของเสียประเภทต่าง อาทิน้ำเน่า ขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่พักหรือร้านอาหารที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านกายภาพ
-พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
-กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้
-เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย
ด้านมลภาวะ
-ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ
-น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ
แบ่งกลุ่ม
วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวที่เคยไปเยือน
ทั้งแง่บวกและลบ
- พัทยา
- ตามความเห็นของกลุ่ม
- กรุงเทพมหานคร

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่ 8

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ความเป็นมา
การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป
สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า
ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
-ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน
-ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน
-ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
-เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
-กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
-ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
-ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
-เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ
-เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
-เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
-เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
-เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
-เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
-เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
-เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
-สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
-ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
-ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
-ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
-ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล








สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่7


ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
บริษัทนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มาตราที่ 3
“การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”
ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว มี 3 ประเภทได้แก่
-ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่
เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
-ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
-ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร
Travel Agency
-จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
เช่น ราคาตั๋วพาหนะ ราคาห้องพัก ราคาเช่ารถ ฯลฯ
-การจองใช้บริการยานพาหนะ การจองตั๋วเครื่องบิน
เช่น เป็นการวางแผนการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
-รับชำระเงิน
ส่งรายงานเกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขาย แล้วนำเงินเข้าบัญชี จะถอนเงินไปชำระให้แก่สายการบินต่างๆ โดยหักค่านายหน้าให้แก่ Travel Agency
-ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
โดยส่วนมากลูกค้าอาจไปรับเอง หรืออาจมีเจ้าหน้าที่มาส่งให้ ณ ที่นัดหมาย หรืออาจไปรับที่สนามบินก็ได้
-ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
ซึ่งเป็นสินค้าและบริการส่วนเสริม
-ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
หากTravel Agency ใดไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน อาจไม่สามารถออกบัตรโดยสารเองได้ จึงต้องซื้อจาก Travel Agency อื่น
-ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ประโยชน์ของการใช้บริการจาก Travel Agency
-ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
-สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุดได้
-ทำให้ประหยัดเวลาและความลำบาก
-ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
-รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
-รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ลักษณะของตัวแทนทางการท่องเที่ยวที่ดี
-ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวได้
-เป็นนักขาย นักจิตวิทยา มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยว
-รู้ถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการเดินทางในรูปแบบต่างๆ
-สามารถจัดหาบริการเดินทางให้เหมาะสมกับลูกค้าของตน
-มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ดี
-สามารถอ่านตารางเวลาเข้า-ออกของยานพาหนะได้ทุกประเภทได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถคิดค่าตั๋ว และเขียนตั๋วได้ทุกประเภท มีความรู้เกี่ยวกับการสำรองที่นั่งบนเครื่องบินและห้องพักในโรงแรม
-มีความรู้เกี่ยวกับราคาที่พักแรม คุณภาพ ลักษณะร้านอาหาร สถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง
-ตื่นตัว ติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน กฎระเบียบต่างๆ
ประเภทของ Travel Agency
Travel Agencyแบ่งเป็น 4 ประเภท
แบบที่มีมาแต่เดิม Conventional Agencies
- ประเภทเครือข่าย
- ประเภท Franchise
- ประเภท Consortium
- ประเภท อิสระ
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต Online Agencies
แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง Specialized Agencies
แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก Home-based
Agencies
การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว
ทำเลที่ตั้ง
ธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ได้ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสามารถติดต่อกับบริษัทตัวแทนได้สะดวก
สำหรับตัวแทนทางการท่องเที่ยวอาจจะตั้งอยู่ในชุมชน เข้าถึงได้สะดวก

แหล่งเงินทุน
เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกันอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรสาร ฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
การตลาด
คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น
การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
ดูรายละเอียดและขั้นตอนได้ใน www2.tat.or.th/tbgr/
หลักประกันใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท
Inbound 100,000 บาท
Outbound 200,000 บาท

คำจำกัดความของบริษัททัวร์ดังนี้
บริษัททัวร์ (ผู้ขายส่งทัวร์) หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
บริษัททัวร์ หรือผู้ขายส่งทัวร์
หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่ายหรือจัดนำเที่ยว
ทัวร์ หมายถึง อะไร
รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า (และชำระเงินล่วงหน้า)
บริษัททัวร์ทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ
-ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน บริษัทรถโคชและบริษัทที่บริการด้านการเดินทางอื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์
-เพื่อทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายประเภทต่างๆ จากนั้นจึงขายโปรแกรมทัวร์ไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี
โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว
แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์ ( Personnel and Guide)
แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ (Foreign Individual Traveller)
แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มและเพื่อเป็นรางวัล (Group and Incentive)
แผนกจัดรายการนำเที่ยว (Tour Operation)
แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ ( Inbound Tour)
แผนกจัดนำเที่ยวนอกประเทศ ( Outbound Tour)
แผนกจัดนำเที่ยวไทยภายในประเทศ ( Domestic Tour)
แผนกบริหาร ( Management)
แผนกขายและการตลาด (Sale and Marketing)
แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว (Operation)
แผนกยานพาหนะ (Transportation)
แผนกเอกสารธุรการ (Support Staff and Documentation)
แผนกรับจองและขาย (Reservation and Sales)
แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Currency Exchange)

ประเภทของการจัดนำเที่ยว
-ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ
-ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์
-ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง
การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น
-การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง
-ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว
-ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล
บริษัทรับจัดการประชุม
-ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก ห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม




วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานกลุ่มสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


ตลาดเก่าอ่างศิลา


ตลาดเก่าอ่างศิลา
Angsila old market

อ่าง ศิลา เป็นหมู่บ้านประมงริมทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ และเป็นแหล่งทำครกหิน ซึ่งริเริ่มโดยชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งอพยพเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำหินเนื้อละเอียดที่มีอยู่มากมายแถบอ่างศิลามาแกะสลัก จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าของใช้ ของตกแต่งบ้าน มากมาย นอกจากนี้อ่างศิลายังเคยเป็นสถานตากอากาศชายทะเลเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีตำหนักที่ประทับริมทะเลสมัยรัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรมแบบยุโรป ให้เห็นอยู่ รวมทั้งเป็นย่านร้านอาหารทะเลอร่อย ๆ หลายร้าน
สำหรับตลาดอ่างศิลาเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2419 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 133 ปีแล้ว เทศบาลตำบลอ่างศิลา และชุมชนชาวอ่างศิลา ได้ร่วมกันพัฒนาตลาดอ่างศิลา เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่ง หนึ่งของจังหวัดชลบุรี ภายใต้ชื่อโครงการ ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี โดยมีกำหนดเปิดตลาดในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 และทุกวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 10.00 -18.00 น.ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป มีชาวบ้านมาจำหน่ายสินค้าอาหาร ของฝากมากมาย อาทิ อาหารทะเลแปรรูป ขนมครกสูตรโบราณ ห่อหมก ฯลฯ


ภาพบรรยากาศของตลาดเก่าอ่างศิลาที่เราเก็บภาพมาฝากกัน

มาดูกันดีกว่าว่าที่สะพานปลาอ่างศิลานี้มีอะไรให้ชาวหมูหิน.คอมช้อปปิ้งกันบ้าง ต้องบอกเลยค่ะว่าอาหารทะเลที่นี่ไม่ธรรมดาจริงๆ มีให้เลือกสรรมากมายไม่ว่าจะเป็น กุ้ง กั้งแก้ว ปลาหมึกกระดอง ปลาหมึกศอก หนวดปลาหมึก แถมไม่พอปลาหมึกที่นี่จะเอาเฉพาะตัวที่ไข่ก็ได้นะคะ หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหวาน หอยนางรมที่แกะแล้ว พร้อมเครื่องครบชุด สะดวกกินมากๆมีน้ำจิ้มซีฟู้ดแยกขายด้วยค่ะ ปูม้า ปลานานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาซาบะ ปลาทู ปลากระพง ปลาอินทรีย์ ที่แปลกๆก็มีปลากระเบนแล้วก็ปลาฉลามทราย ที่ไม่กินเนื้อ แถมไม่กัดคนอีกต่างหากค่ะ ซื้อของทะเลเสร็จแล้ว กลัวไม่สด ที่สะพานปลาอ่างศิลาก็มีบริการกล่องโฟม+น้ำแข็งขาย อำนวยความสะดวกให้ด้วย เพื่อให้อาหารทะเลคงความสดจนถึงจุดหมายปลายทาง


วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม



วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิมอำเภอเมือง จ.ชลบุรี


วิหารหรือศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ เป็นศาลเจ้าจีนที่ก่อสร้างอย่างสวยงามใหญ่โต ตั้งอยู่ริมเส้นทางเลียบชายทะเลจากอ่างศิลาไปเขาสามมุข มีตึก 4ชั้น ภายในโอ่โถงตระการตาด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน จุดเด่นด้านศิลปวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ รูปปั้นมังกรซึ่งมีมาถึง 2,840ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มีองค์ไท้ส่วยเอี้ย (ดาวเทพคุ้มครองดวงชะตาประจำปีเกิดของมวลมนุษย์) ครบ 60 องค์ ให้ผู้มาเยือนได้ขอพรได้ตรงตามปีเกิด


ประวัติศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ


เดิมเป็นศาลเจ้าขนาดเล็ก สร้างขึ้นโดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ เมื่อปี 2534ต่อมาศิษยานุศิษย์ พ่อค้า ประชาชนที่เลื่อมใสในองค์เทพเจ้าหน่าซาไท้จื้อ ได้ร่วมบริจาคสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และพระราชทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" ซึ่งหมายความว่า ที่สถิตของทวยเทพเจ้าทั้งหลาย ปัจจุบัน ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง หอฟ้าดิน 1 หลัง บนเนื้อที่ 13 ไร่ ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 0 3839 8381-4, 0 3839 8399






















เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 พระองค์ และทรงประทานพระบรมสารีริกธาติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 9 พระองค์ให้แก่ คณะกรรมการมูลนิธิธรรมรัศมี มณีรัตน์ เพื่อทำพิธีบรรจุ และได้รับเกียรติจาก ฯพณฯท่าน ม.ร.ว.อดุลกิติ์ กิติยากร เป็นประธานในพิธีบรรจุพระบรม สารีริกธาตุสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้พระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" มีความหมายว่า เป็นที่สถิตของทวยเทพเจ้าทั้งหลายเป็นสถาปัตยกรรมจีนที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในย่างตะวันออกเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าตัวอาคารมีมังกรพันเสาอยู่ทุกต้นตัวอาคารเป็นอาคาร 4 ชั้น

ชั้นที่ 1

เป็นที่ประดิษฐานของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังมีองค์ดวงเทพพระเคราะห์ (องค์ไท้ส่วย) ทั้งหมด 60 องค์ และยังเป็นที่ทำการของมูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์อีกด้วย

ชั้นที่ 2

เป็นที่ประดิษฐานขององค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ทั้ง 3ปางที่จำลองมาจากมณฑลเสฉวนจากประเทศจีนซึ่งเป็นศาลเจ้าแรกขององค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ที่ท่านแม่ขององค์เทพเจ้าหน่าจาเป็นผู้สร้างให้ ในชั้นนี้มีรูปปั้นมหาโพธิสัตว์กวนอิมหรือพระอวโลกิเตศวร อีกหลายปาง


ชั้นที่ 3


เป็นที่ประดิษฐานขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้ ที่เรารู้จักกันดีว่าท่านเป็นผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ ข้าราชการนิยมมากราบไหว้เพื่อมาขอพรท่านให้ได้เลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงาน และยังมีองค์เทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพอีกมาก มาย

ชั้นที่ 4

เป็นชั้นที่สูงสุด เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นองค์ประธานหรือองค์พระศรีอริยเมตตรัย และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก 5 พระองค์ที่ตั้งอยู่ 5 ทิศ และองค์สมเด็จพระอนุตรธรรมมารดา ผู้ให้กำเนิดแก่จักรวางทั้งปวงเป็นผู้ให้ กำเนิดสรรพชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ บุคคลท่านใดไม่มีบุตร นิยมมากราบไหว้ขอพรท่านให้ได้บุตรก็จะสมหวังดังที่ขอไว้ได้บุตรมีสติปัญญาที่ดี และมีสุขภาพแข็งแรง

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


โปรแกรมทัวร์
รายละเอียด : “พาแม่เที่ยวเมืองใต้”
ชุมพร – ระนอง – สุราษฎร์ธานี
ราคา : 4500 บาท
เดินทางสู่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สักการะกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือไทย ณ ศาลกรมหลวงชุมพร และเดินทาง ชื่นชมบรรยากาศบนหาดทรายรี ชมพันธุ์ไม้นานนานชนิด และเอื้องเพชรหึงส์ พันธุ์กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มากที่สุดในโลกนับหมื่นต้น จากนั้นสักการะศาลหลักเมือง คาราวะอนุสาวรีย์ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนอง (ท่านคอซูเจียง)สักการะศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่งดงาม

วันที่ 1
กรุงเทพฯ – ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร
06.00
ทุกท่านพร้อมกันที่ จุดนัดพบ
06.30
ออกเดินทางโดยรถโค้ชปรับอากาศสู่ อำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ บริการอาหารกล่อง เครื่องดื่ม
11.30
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านเฉี่ยวโอชา 3
12.30
ออกเดินทางสู่ หาดบ้านกรูด เขาธงชัย ที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์เก้ายอด พระปรางค์จัตุรมุขสูงสามชั้นงดงามสง่า ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ผลงานการออกแบบของ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งชาวบ้านกรูดร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ภายในตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมกระจกปรุงสีที่วิจิตรงดงาม และเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นชายหาดลักษณะโค้งมนคล้ายพระจันทร์เสี้ยวที่ทอดตัวคู่ขนานยาวไปกับแนวฝั่ง มีทิวมะพร้าวและทิวสนสีเขียวตัดไปกับสีฟ้าครามของน้ำทะเล บรรยากาศสงบและเป็นธรรมชาติ และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธกิติสิริชัย ศิลปะคันธาระ ที่ชาวบางสะพานสร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จ – พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ และสักการะ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งชาวบ้านเล่าขานว่าพระองค์เคยเสด็จมาประทับบริเวณนี้เพื่อพักทอดสมอเรือรบ
13.00
เดินทางสู่ บ้านน้ำพุ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชม โครงการจัดการป่าไม้บนพื้นที่สันทราย บ้านน้ำพุ
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานแนวคิดว่า “ … เพราะภูมิประเทศนี่มันใหญ่กว่าเรา ไม่ใช่ว่าเราใหญ่กว่าภูมิประเทศ เราไปย้ายภูมิประเทศ มันยากกว่าย้ายตัวเรา…” จึงเป็นที่มาของโครงการนี้เพื่อรักษา ป่าบนสันทรายแห่งสุดท้ายของบางเบิด ไว้ ชมพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นที่มีกว่า
160 ชนิดที่หาดูได้ยากในที่อื่นๆ ของประเทศตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อาทิ เฟิร์น ตาซ่าน ต้นเสม็ดชุนยักษ์ ที่มีเปลือก
สีแดงทั้งต้น อายุนับร้อยปี ต้นปลาไหลเผือก ต้นตรึงบาดาล รวมทั้งพันธุ์พืชจากป่าพรุ ป่าชายหาด ป่าดิบชื้นที่มางอกงามรวมกันบนหุบทรายแห่งนี้ จากนั้นชม ปรากฏการณ์เนินทรายที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย เหมือนกำแพงยักษ์
สูงกว่า 30 เมตร ในระยะทางที่ยาวถึง 10 กม. ผลงานการออกแบบของธรรมชาติโดยน้ำและลมที่ใช้เวลานับพันปี และเลือกซื้อผลิตผลจากโครงการฯ
จากนั้นแวะช้อปปิ้ง ของที่ระลึกและเลือกซื้อกล้วยไข่และผลไม้ตามฤดูกาลหลากชนิดที่ ศาลพ่อตาหินช้าง อ.ท่าแซะ
18.00
ข้าที่พัก ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ท ณ หาดทุ่งวัวแล่น หรือระดับเทียบเท่า
เชิญพักผ่อนตามอัธยาศัย (กรุณาเตรียมชุดว่ายน้ำไปด้วยนะคะ)
19.00
รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของรีสอร์ท

วันที่ 2
ชุมพร – ระนอง
07.00
รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
08.00
เดินทางสู่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สักการะกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือไทย ณ ศาลกรมหลวงชุมพร และเดินทาง ชื่นชมบรรยากาศบนหาดทรายรี
10.00
เดินทางสู่จังหวัดระนอง “เมืองท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ” ชมส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูที่คอคอดกระ - บ้านทับหลี จุดที่สามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ที่แบ่งพรมแดนไทย – พม่า ได้อย่างชัดเจนและที่พลาดไม่ได้คือ ณ กิโลเมตรที่ 45 ถนน เพชรเกษม ชิมซาลาเปาบ้านทับหลี ที่มีชื่อมานานคู่เมืองกระบุรี
12.00
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านเฮอร์ริเทจ
13.00
นั่งรถไม้โบราณ นำท่านเที่ยวชมสวนสาธารณะรักษะวาริน บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน ปรากฏการณ์ธรรมชาติในที่บริเวณที่เป็นแหล่งน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนใต้ดินที่ไหลผ่านและซึมออกมาจากพื้นดิน โดยมีระยะเวลาสะสมหลายพันล้านปี ที่นี่มี 3 บ่อหลัก ซึ่งอุณหภูมิอยู่ประมาณ 65 องศาเซลเซียส สามารถใช้ดื่มและอาบได้ มีประโยชน์ต่อร่างกายในการบำบัดรักษาสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นน้ำที่นำไปใช้ในพิธีพุทธาภิเษกและทำน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีฉลองพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เยือนระนองแคนย่อน ความมหัศจรรย์ของขุนเขาและสระน้ำเขียวมรกต และเยี่ยมชุมชนที่วัดหาดส้มแป้น หมู่บ้านทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีต เยือน สวนเกษตรสุขภาพ แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามรอยพยุคลบาท ทึ่งกับแก้มลิงบเชิงเขา การบริหารจัดการ น้ำ ดิน และป่าอย่างยั่งยืน ชมพันธุ์ไม้นานนานชนิด และเอื้องเพชรหึงส์ พันธุ์กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มากที่สุดในโลกนับหมื่นต้น จากนั้นสักการะศาลหลักเมือง คาราวะอนุสาวรีย์ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนอง (ท่านคอซูเจียง)
18.00
รับประทานอาหารเย็น พร้อมชมพระอาทิตย์ตกน้ำ และทัศนียภาพสองฝั่งประเทศ ไทย-พม่า
ดื่มด่ำบรรยากาศริมชายหาด ณ ร้านอาหารเคียงเล
20.00
เข้าที่พัก โรงแรมทินิดี ระนอง หรือระดับเทียบเท่า พักผ่อนตามอัธยาศัย

หมายเหตุ
กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และสภาพภูมิอากาศ
อัตราค่าบริการ ผู้ใหญ่ (พักห้องละ 2 ท่าน) ราคาท่านละ 4,500 บาท
เด็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี พักกับผู้ใหญ่ 2 ท่าน ไม่มีเตียง) ราคาท่านละ 3,300 บาท
กรณีพักห้องเดี่ยว เพิ่มท่านละ 1,600 บาท


ค่าบริการนี้รวม
ค่ารถโค้ชปรับอากาศ / ค่าเรือล่องแม่น้ำตาปี / ค่าที่พัก ตามระบุ 3 คืน / ค่าอาหารตามระบุในรายการ /
ค่าประกันอุบัติเหตุในการเดินทาง ท่านละ 1,000,000 บาท / มัคคุเทศก์ / ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ ตามรายการระบุ
ค่าบริการนี้ไม่รวม : ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % หรือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย / ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายการ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่1 - บทที่ 6


สรุปวิชา HT201 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวคืออะไร
การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ
การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะทางเท่าใด
การท่องเที่ยว Tourismพ.ศ. 2506
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
การเดินทางไปพักฟื้น
การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกอล์ฟที่ต่างประเทศ
การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
การเดินทางไปประกอบอาชีพ ด้วยรถ ๖ ล้อ
การเดินทางโดยไม่เต็มใจ
จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506
ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor)
จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist)
๒.นักทัศนาจร (Excursionist)
การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน
นักท่องเที่ยวหมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว อยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
นักทัศนาจรคือผู้มาเยือนชั่วคราว อยู่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน
แบ่งออกเป็น
-ผู้มาเยือนขาเข้าคือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
-ผู้มาเยือนขาออก คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
-ผู้มาเยือนภายในประเทศคือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่
**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้


วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น

แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
Holiday
Business
SIT
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
เพื่อธุรกิจ
เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา
การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักรอิยิปต์
อาณาจักร บาบิโลน
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
ยุคกลาง หรือ ยุคมืด
ประมาณ ค.ศ. 500-1500
-เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
-วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
-เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
-ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
-สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
-ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
พัฒนาการการท่องเที่ยวของไทยตั้งแต่ก่อตั้ง อสท. จนถึงปัจจุบัน
มหกรรมเอเชียนเกมส์ 2509
ช่วงวิกฤตการณ์การท่องเที่ยวของไทย พ.ศ. 2518-2524

กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน(พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร)
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว

ที่พักแรม
การคมนาคมขนส่ง
อาหารและเครื่องดื่ม
บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบสนับสนุน
การบริการข่าวสารข้อมูล
ความปลอดภัย
การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ร้านขายของที่ระลึก
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิด เนินทราย เป็นต้น
-ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน
-ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี
แหล่งท่องเที่ยว
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
จุดหมายปลายทางหมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
Scope
Primary Destination
Secondary Destination
Owner
-Government
-Non Profit Organization
-Private
Permanency
-Sites
-Festivals or Events
การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยว ตามการแบ่งของ ททท.
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง
อุทยานแห่งชาติ (National Park)
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
วนอุทยาน (Forest Park)
มรดกโลก (World Heritage) ในประเทศไทย
มรดกโลกในประเทศมี 5 แห่งด้วยกัน คือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991
แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005 /G3-23Jun08
แหล่งท่องเที่ยวประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง
กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
อนุสาวรีย์แห่งชาติ
อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
ย่านประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม"
Grand Destination
นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่น และมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
Grand Events & Grand Festivals
ในปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ เราได้รวบรวม สีสัน ความสนุกสนาน ตระการตา หลากรูปแบบ ทั้งประเพณี วัฒนธรรมและกีฬา
Grand Services
นำเสนอการให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่โดดเด่น ในเรื่องของโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การซื้อ สินค้าการเดินทางขนส่ง
Grand Opening
นำเสนอการเปิดแหล่งท่องเที่ยว หรือการให้บริการทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
หมายถึง การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ
ความเป็นมา
สมัยกรีก-โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางศาสนาและการค้า
ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ทำให้การบริการอาหารมีผลกระทบไปด้วย
ค.ศ. 1765 เกิดธุรกิจอาหารแบบภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเจอร์ (Monsieur Boulanger) เปิดร้านขายซุป ที่ชื่อว่า Restorantes
ค.ศ. 1782 มีภัตตาคารที่แท้จริงชื่อว่า Grande Taverne de Londres ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ในอเมริกา มีภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Delmonico
ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลังๆ มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร อาทิเช่น McDonald ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1948
ประเทศไทย
ยุคแรก เนื่องจากคนไทยนิยมประกอบอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารที่เปิดส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนที่เปิดในย่านสำเพ็งให้บริการแก่ชาวจีนและประชาชนทั่วไป
สมัยรัชกาลที่ 4-ปัจจุบัน ประชาชนมีอิสระจากการเลิกระบบทาสและไพร่ ผู้คนมีอิสระในการดำเนินชีวิต
ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ (Buffets)
-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้าสามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ในปริมาณที่ไม่จำกัด “All you can eat”
ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops)
-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ ราคาไม่แพงมาก
ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว
ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการระดับสูง
ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ(Ethic Restaurants)
-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ พนักงาน การตกแต่งร้านก็มีลักษณะเน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน
อาหารไทย ( Thai Food)
ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม
4. อาหารว่างและขนม
ภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม(Food and Beverage Service Operations)
การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ
-มีประเภทของอาหารไม่มาก
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้
อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast)
ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast)
ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ
อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า
อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon
รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย
อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหาร
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภท
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึง