วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่1 - บทที่ 6


สรุปวิชา HT201 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวคืออะไร
การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ
การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะทางเท่าใด
การท่องเที่ยว Tourismพ.ศ. 2506
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
การเดินทางไปพักฟื้น
การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกอล์ฟที่ต่างประเทศ
การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
การเดินทางไปประกอบอาชีพ ด้วยรถ ๖ ล้อ
การเดินทางโดยไม่เต็มใจ
จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506
ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor)
จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist)
๒.นักทัศนาจร (Excursionist)
การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน
นักท่องเที่ยวหมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว อยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
นักทัศนาจรคือผู้มาเยือนชั่วคราว อยู่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน
แบ่งออกเป็น
-ผู้มาเยือนขาเข้าคือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
-ผู้มาเยือนขาออก คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
-ผู้มาเยือนภายในประเทศคือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่
**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้


วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น

แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
Holiday
Business
SIT
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
เพื่อธุรกิจ
เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา
การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักรอิยิปต์
อาณาจักร บาบิโลน
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
ยุคกลาง หรือ ยุคมืด
ประมาณ ค.ศ. 500-1500
-เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
-วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
-เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
-ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
-สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
-ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
พัฒนาการการท่องเที่ยวของไทยตั้งแต่ก่อตั้ง อสท. จนถึงปัจจุบัน
มหกรรมเอเชียนเกมส์ 2509
ช่วงวิกฤตการณ์การท่องเที่ยวของไทย พ.ศ. 2518-2524

กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน(พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร)
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว

ที่พักแรม
การคมนาคมขนส่ง
อาหารและเครื่องดื่ม
บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบสนับสนุน
การบริการข่าวสารข้อมูล
ความปลอดภัย
การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ร้านขายของที่ระลึก
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิด เนินทราย เป็นต้น
-ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน
-ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี
แหล่งท่องเที่ยว
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
จุดหมายปลายทางหมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
Scope
Primary Destination
Secondary Destination
Owner
-Government
-Non Profit Organization
-Private
Permanency
-Sites
-Festivals or Events
การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยว ตามการแบ่งของ ททท.
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง
อุทยานแห่งชาติ (National Park)
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
วนอุทยาน (Forest Park)
มรดกโลก (World Heritage) ในประเทศไทย
มรดกโลกในประเทศมี 5 แห่งด้วยกัน คือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991
แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005 /G3-23Jun08
แหล่งท่องเที่ยวประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง
กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
อนุสาวรีย์แห่งชาติ
อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
ย่านประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม"
Grand Destination
นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่น และมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
Grand Events & Grand Festivals
ในปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ เราได้รวบรวม สีสัน ความสนุกสนาน ตระการตา หลากรูปแบบ ทั้งประเพณี วัฒนธรรมและกีฬา
Grand Services
นำเสนอการให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่โดดเด่น ในเรื่องของโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การซื้อ สินค้าการเดินทางขนส่ง
Grand Opening
นำเสนอการเปิดแหล่งท่องเที่ยว หรือการให้บริการทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
หมายถึง การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ
ความเป็นมา
สมัยกรีก-โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางศาสนาและการค้า
ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ทำให้การบริการอาหารมีผลกระทบไปด้วย
ค.ศ. 1765 เกิดธุรกิจอาหารแบบภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเจอร์ (Monsieur Boulanger) เปิดร้านขายซุป ที่ชื่อว่า Restorantes
ค.ศ. 1782 มีภัตตาคารที่แท้จริงชื่อว่า Grande Taverne de Londres ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ในอเมริกา มีภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Delmonico
ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลังๆ มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร อาทิเช่น McDonald ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1948
ประเทศไทย
ยุคแรก เนื่องจากคนไทยนิยมประกอบอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารที่เปิดส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนที่เปิดในย่านสำเพ็งให้บริการแก่ชาวจีนและประชาชนทั่วไป
สมัยรัชกาลที่ 4-ปัจจุบัน ประชาชนมีอิสระจากการเลิกระบบทาสและไพร่ ผู้คนมีอิสระในการดำเนินชีวิต
ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ (Buffets)
-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้าสามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ในปริมาณที่ไม่จำกัด “All you can eat”
ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops)
-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ ราคาไม่แพงมาก
ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว
ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการระดับสูง
ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ(Ethic Restaurants)
-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ พนักงาน การตกแต่งร้านก็มีลักษณะเน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน
อาหารไทย ( Thai Food)
ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม
4. อาหารว่างและขนม
ภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม(Food and Beverage Service Operations)
การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ
-มีประเภทของอาหารไม่มาก
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้
อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast)
ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast)
ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ
อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า
อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon
รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย
อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหาร
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภท
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น