วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่7


ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
บริษัทนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มาตราที่ 3
“การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”
ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว มี 3 ประเภทได้แก่
-ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่
เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
-ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
-ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร
Travel Agency
-จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
เช่น ราคาตั๋วพาหนะ ราคาห้องพัก ราคาเช่ารถ ฯลฯ
-การจองใช้บริการยานพาหนะ การจองตั๋วเครื่องบิน
เช่น เป็นการวางแผนการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
-รับชำระเงิน
ส่งรายงานเกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขาย แล้วนำเงินเข้าบัญชี จะถอนเงินไปชำระให้แก่สายการบินต่างๆ โดยหักค่านายหน้าให้แก่ Travel Agency
-ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
โดยส่วนมากลูกค้าอาจไปรับเอง หรืออาจมีเจ้าหน้าที่มาส่งให้ ณ ที่นัดหมาย หรืออาจไปรับที่สนามบินก็ได้
-ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
ซึ่งเป็นสินค้าและบริการส่วนเสริม
-ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
หากTravel Agency ใดไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน อาจไม่สามารถออกบัตรโดยสารเองได้ จึงต้องซื้อจาก Travel Agency อื่น
-ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ประโยชน์ของการใช้บริการจาก Travel Agency
-ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
-สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุดได้
-ทำให้ประหยัดเวลาและความลำบาก
-ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
-รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
-รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ลักษณะของตัวแทนทางการท่องเที่ยวที่ดี
-ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวได้
-เป็นนักขาย นักจิตวิทยา มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยว
-รู้ถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการเดินทางในรูปแบบต่างๆ
-สามารถจัดหาบริการเดินทางให้เหมาะสมกับลูกค้าของตน
-มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ดี
-สามารถอ่านตารางเวลาเข้า-ออกของยานพาหนะได้ทุกประเภทได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถคิดค่าตั๋ว และเขียนตั๋วได้ทุกประเภท มีความรู้เกี่ยวกับการสำรองที่นั่งบนเครื่องบินและห้องพักในโรงแรม
-มีความรู้เกี่ยวกับราคาที่พักแรม คุณภาพ ลักษณะร้านอาหาร สถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง
-ตื่นตัว ติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน กฎระเบียบต่างๆ
ประเภทของ Travel Agency
Travel Agencyแบ่งเป็น 4 ประเภท
แบบที่มีมาแต่เดิม Conventional Agencies
- ประเภทเครือข่าย
- ประเภท Franchise
- ประเภท Consortium
- ประเภท อิสระ
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต Online Agencies
แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง Specialized Agencies
แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก Home-based
Agencies
การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว
ทำเลที่ตั้ง
ธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ได้ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสามารถติดต่อกับบริษัทตัวแทนได้สะดวก
สำหรับตัวแทนทางการท่องเที่ยวอาจจะตั้งอยู่ในชุมชน เข้าถึงได้สะดวก

แหล่งเงินทุน
เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกันอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรสาร ฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
การตลาด
คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น
การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
ดูรายละเอียดและขั้นตอนได้ใน www2.tat.or.th/tbgr/
หลักประกันใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท
Inbound 100,000 บาท
Outbound 200,000 บาท

คำจำกัดความของบริษัททัวร์ดังนี้
บริษัททัวร์ (ผู้ขายส่งทัวร์) หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
บริษัททัวร์ หรือผู้ขายส่งทัวร์
หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่ายหรือจัดนำเที่ยว
ทัวร์ หมายถึง อะไร
รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า (และชำระเงินล่วงหน้า)
บริษัททัวร์ทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ
-ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน บริษัทรถโคชและบริษัทที่บริการด้านการเดินทางอื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์
-เพื่อทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายประเภทต่างๆ จากนั้นจึงขายโปรแกรมทัวร์ไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี
โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว
แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์ ( Personnel and Guide)
แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ (Foreign Individual Traveller)
แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มและเพื่อเป็นรางวัล (Group and Incentive)
แผนกจัดรายการนำเที่ยว (Tour Operation)
แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ ( Inbound Tour)
แผนกจัดนำเที่ยวนอกประเทศ ( Outbound Tour)
แผนกจัดนำเที่ยวไทยภายในประเทศ ( Domestic Tour)
แผนกบริหาร ( Management)
แผนกขายและการตลาด (Sale and Marketing)
แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว (Operation)
แผนกยานพาหนะ (Transportation)
แผนกเอกสารธุรการ (Support Staff and Documentation)
แผนกรับจองและขาย (Reservation and Sales)
แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Currency Exchange)

ประเภทของการจัดนำเที่ยว
-ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ
-ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์
-ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง
การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น
-การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง
-ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว
-ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล
บริษัทรับจัดการประชุม
-ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก ห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น