วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานกลุ่มสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


ตลาดเก่าอ่างศิลา


ตลาดเก่าอ่างศิลา
Angsila old market

อ่าง ศิลา เป็นหมู่บ้านประมงริมทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ และเป็นแหล่งทำครกหิน ซึ่งริเริ่มโดยชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งอพยพเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำหินเนื้อละเอียดที่มีอยู่มากมายแถบอ่างศิลามาแกะสลัก จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าของใช้ ของตกแต่งบ้าน มากมาย นอกจากนี้อ่างศิลายังเคยเป็นสถานตากอากาศชายทะเลเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีตำหนักที่ประทับริมทะเลสมัยรัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรมแบบยุโรป ให้เห็นอยู่ รวมทั้งเป็นย่านร้านอาหารทะเลอร่อย ๆ หลายร้าน
สำหรับตลาดอ่างศิลาเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2419 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 133 ปีแล้ว เทศบาลตำบลอ่างศิลา และชุมชนชาวอ่างศิลา ได้ร่วมกันพัฒนาตลาดอ่างศิลา เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่ง หนึ่งของจังหวัดชลบุรี ภายใต้ชื่อโครงการ ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี โดยมีกำหนดเปิดตลาดในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 และทุกวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 10.00 -18.00 น.ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป มีชาวบ้านมาจำหน่ายสินค้าอาหาร ของฝากมากมาย อาทิ อาหารทะเลแปรรูป ขนมครกสูตรโบราณ ห่อหมก ฯลฯ


ภาพบรรยากาศของตลาดเก่าอ่างศิลาที่เราเก็บภาพมาฝากกัน

มาดูกันดีกว่าว่าที่สะพานปลาอ่างศิลานี้มีอะไรให้ชาวหมูหิน.คอมช้อปปิ้งกันบ้าง ต้องบอกเลยค่ะว่าอาหารทะเลที่นี่ไม่ธรรมดาจริงๆ มีให้เลือกสรรมากมายไม่ว่าจะเป็น กุ้ง กั้งแก้ว ปลาหมึกกระดอง ปลาหมึกศอก หนวดปลาหมึก แถมไม่พอปลาหมึกที่นี่จะเอาเฉพาะตัวที่ไข่ก็ได้นะคะ หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหวาน หอยนางรมที่แกะแล้ว พร้อมเครื่องครบชุด สะดวกกินมากๆมีน้ำจิ้มซีฟู้ดแยกขายด้วยค่ะ ปูม้า ปลานานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาซาบะ ปลาทู ปลากระพง ปลาอินทรีย์ ที่แปลกๆก็มีปลากระเบนแล้วก็ปลาฉลามทราย ที่ไม่กินเนื้อ แถมไม่กัดคนอีกต่างหากค่ะ ซื้อของทะเลเสร็จแล้ว กลัวไม่สด ที่สะพานปลาอ่างศิลาก็มีบริการกล่องโฟม+น้ำแข็งขาย อำนวยความสะดวกให้ด้วย เพื่อให้อาหารทะเลคงความสดจนถึงจุดหมายปลายทาง


วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม



วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิมอำเภอเมือง จ.ชลบุรี


วิหารหรือศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ เป็นศาลเจ้าจีนที่ก่อสร้างอย่างสวยงามใหญ่โต ตั้งอยู่ริมเส้นทางเลียบชายทะเลจากอ่างศิลาไปเขาสามมุข มีตึก 4ชั้น ภายในโอ่โถงตระการตาด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน จุดเด่นด้านศิลปวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ รูปปั้นมังกรซึ่งมีมาถึง 2,840ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มีองค์ไท้ส่วยเอี้ย (ดาวเทพคุ้มครองดวงชะตาประจำปีเกิดของมวลมนุษย์) ครบ 60 องค์ ให้ผู้มาเยือนได้ขอพรได้ตรงตามปีเกิด


ประวัติศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ


เดิมเป็นศาลเจ้าขนาดเล็ก สร้างขึ้นโดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ เมื่อปี 2534ต่อมาศิษยานุศิษย์ พ่อค้า ประชาชนที่เลื่อมใสในองค์เทพเจ้าหน่าซาไท้จื้อ ได้ร่วมบริจาคสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และพระราชทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" ซึ่งหมายความว่า ที่สถิตของทวยเทพเจ้าทั้งหลาย ปัจจุบัน ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง หอฟ้าดิน 1 หลัง บนเนื้อที่ 13 ไร่ ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 0 3839 8381-4, 0 3839 8399






















เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 พระองค์ และทรงประทานพระบรมสารีริกธาติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 9 พระองค์ให้แก่ คณะกรรมการมูลนิธิธรรมรัศมี มณีรัตน์ เพื่อทำพิธีบรรจุ และได้รับเกียรติจาก ฯพณฯท่าน ม.ร.ว.อดุลกิติ์ กิติยากร เป็นประธานในพิธีบรรจุพระบรม สารีริกธาตุสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้พระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" มีความหมายว่า เป็นที่สถิตของทวยเทพเจ้าทั้งหลายเป็นสถาปัตยกรรมจีนที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในย่างตะวันออกเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าตัวอาคารมีมังกรพันเสาอยู่ทุกต้นตัวอาคารเป็นอาคาร 4 ชั้น

ชั้นที่ 1

เป็นที่ประดิษฐานของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังมีองค์ดวงเทพพระเคราะห์ (องค์ไท้ส่วย) ทั้งหมด 60 องค์ และยังเป็นที่ทำการของมูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์อีกด้วย

ชั้นที่ 2

เป็นที่ประดิษฐานขององค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ทั้ง 3ปางที่จำลองมาจากมณฑลเสฉวนจากประเทศจีนซึ่งเป็นศาลเจ้าแรกขององค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ที่ท่านแม่ขององค์เทพเจ้าหน่าจาเป็นผู้สร้างให้ ในชั้นนี้มีรูปปั้นมหาโพธิสัตว์กวนอิมหรือพระอวโลกิเตศวร อีกหลายปาง


ชั้นที่ 3


เป็นที่ประดิษฐานขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้ ที่เรารู้จักกันดีว่าท่านเป็นผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ ข้าราชการนิยมมากราบไหว้เพื่อมาขอพรท่านให้ได้เลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงาน และยังมีองค์เทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพอีกมาก มาย

ชั้นที่ 4

เป็นชั้นที่สูงสุด เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นองค์ประธานหรือองค์พระศรีอริยเมตตรัย และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก 5 พระองค์ที่ตั้งอยู่ 5 ทิศ และองค์สมเด็จพระอนุตรธรรมมารดา ผู้ให้กำเนิดแก่จักรวางทั้งปวงเป็นผู้ให้ กำเนิดสรรพชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ บุคคลท่านใดไม่มีบุตร นิยมมากราบไหว้ขอพรท่านให้ได้บุตรก็จะสมหวังดังที่ขอไว้ได้บุตรมีสติปัญญาที่ดี และมีสุขภาพแข็งแรง

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


โปรแกรมทัวร์
รายละเอียด : “พาแม่เที่ยวเมืองใต้”
ชุมพร – ระนอง – สุราษฎร์ธานี
ราคา : 4500 บาท
เดินทางสู่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สักการะกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือไทย ณ ศาลกรมหลวงชุมพร และเดินทาง ชื่นชมบรรยากาศบนหาดทรายรี ชมพันธุ์ไม้นานนานชนิด และเอื้องเพชรหึงส์ พันธุ์กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มากที่สุดในโลกนับหมื่นต้น จากนั้นสักการะศาลหลักเมือง คาราวะอนุสาวรีย์ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนอง (ท่านคอซูเจียง)สักการะศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่งดงาม

วันที่ 1
กรุงเทพฯ – ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร
06.00
ทุกท่านพร้อมกันที่ จุดนัดพบ
06.30
ออกเดินทางโดยรถโค้ชปรับอากาศสู่ อำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ บริการอาหารกล่อง เครื่องดื่ม
11.30
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านเฉี่ยวโอชา 3
12.30
ออกเดินทางสู่ หาดบ้านกรูด เขาธงชัย ที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์เก้ายอด พระปรางค์จัตุรมุขสูงสามชั้นงดงามสง่า ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ผลงานการออกแบบของ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งชาวบ้านกรูดร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ภายในตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมกระจกปรุงสีที่วิจิตรงดงาม และเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นชายหาดลักษณะโค้งมนคล้ายพระจันทร์เสี้ยวที่ทอดตัวคู่ขนานยาวไปกับแนวฝั่ง มีทิวมะพร้าวและทิวสนสีเขียวตัดไปกับสีฟ้าครามของน้ำทะเล บรรยากาศสงบและเป็นธรรมชาติ และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธกิติสิริชัย ศิลปะคันธาระ ที่ชาวบางสะพานสร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จ – พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ และสักการะ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งชาวบ้านเล่าขานว่าพระองค์เคยเสด็จมาประทับบริเวณนี้เพื่อพักทอดสมอเรือรบ
13.00
เดินทางสู่ บ้านน้ำพุ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชม โครงการจัดการป่าไม้บนพื้นที่สันทราย บ้านน้ำพุ
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานแนวคิดว่า “ … เพราะภูมิประเทศนี่มันใหญ่กว่าเรา ไม่ใช่ว่าเราใหญ่กว่าภูมิประเทศ เราไปย้ายภูมิประเทศ มันยากกว่าย้ายตัวเรา…” จึงเป็นที่มาของโครงการนี้เพื่อรักษา ป่าบนสันทรายแห่งสุดท้ายของบางเบิด ไว้ ชมพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นที่มีกว่า
160 ชนิดที่หาดูได้ยากในที่อื่นๆ ของประเทศตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อาทิ เฟิร์น ตาซ่าน ต้นเสม็ดชุนยักษ์ ที่มีเปลือก
สีแดงทั้งต้น อายุนับร้อยปี ต้นปลาไหลเผือก ต้นตรึงบาดาล รวมทั้งพันธุ์พืชจากป่าพรุ ป่าชายหาด ป่าดิบชื้นที่มางอกงามรวมกันบนหุบทรายแห่งนี้ จากนั้นชม ปรากฏการณ์เนินทรายที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย เหมือนกำแพงยักษ์
สูงกว่า 30 เมตร ในระยะทางที่ยาวถึง 10 กม. ผลงานการออกแบบของธรรมชาติโดยน้ำและลมที่ใช้เวลานับพันปี และเลือกซื้อผลิตผลจากโครงการฯ
จากนั้นแวะช้อปปิ้ง ของที่ระลึกและเลือกซื้อกล้วยไข่และผลไม้ตามฤดูกาลหลากชนิดที่ ศาลพ่อตาหินช้าง อ.ท่าแซะ
18.00
ข้าที่พัก ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ท ณ หาดทุ่งวัวแล่น หรือระดับเทียบเท่า
เชิญพักผ่อนตามอัธยาศัย (กรุณาเตรียมชุดว่ายน้ำไปด้วยนะคะ)
19.00
รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของรีสอร์ท

วันที่ 2
ชุมพร – ระนอง
07.00
รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
08.00
เดินทางสู่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร สักการะกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือไทย ณ ศาลกรมหลวงชุมพร และเดินทาง ชื่นชมบรรยากาศบนหาดทรายรี
10.00
เดินทางสู่จังหวัดระนอง “เมืองท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ” ชมส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูที่คอคอดกระ - บ้านทับหลี จุดที่สามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ที่แบ่งพรมแดนไทย – พม่า ได้อย่างชัดเจนและที่พลาดไม่ได้คือ ณ กิโลเมตรที่ 45 ถนน เพชรเกษม ชิมซาลาเปาบ้านทับหลี ที่มีชื่อมานานคู่เมืองกระบุรี
12.00
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านเฮอร์ริเทจ
13.00
นั่งรถไม้โบราณ นำท่านเที่ยวชมสวนสาธารณะรักษะวาริน บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน ปรากฏการณ์ธรรมชาติในที่บริเวณที่เป็นแหล่งน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนใต้ดินที่ไหลผ่านและซึมออกมาจากพื้นดิน โดยมีระยะเวลาสะสมหลายพันล้านปี ที่นี่มี 3 บ่อหลัก ซึ่งอุณหภูมิอยู่ประมาณ 65 องศาเซลเซียส สามารถใช้ดื่มและอาบได้ มีประโยชน์ต่อร่างกายในการบำบัดรักษาสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นน้ำที่นำไปใช้ในพิธีพุทธาภิเษกและทำน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีฉลองพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เยือนระนองแคนย่อน ความมหัศจรรย์ของขุนเขาและสระน้ำเขียวมรกต และเยี่ยมชุมชนที่วัดหาดส้มแป้น หมู่บ้านทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีต เยือน สวนเกษตรสุขภาพ แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามรอยพยุคลบาท ทึ่งกับแก้มลิงบเชิงเขา การบริหารจัดการ น้ำ ดิน และป่าอย่างยั่งยืน ชมพันธุ์ไม้นานนานชนิด และเอื้องเพชรหึงส์ พันธุ์กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มากที่สุดในโลกนับหมื่นต้น จากนั้นสักการะศาลหลักเมือง คาราวะอนุสาวรีย์ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนอง (ท่านคอซูเจียง)
18.00
รับประทานอาหารเย็น พร้อมชมพระอาทิตย์ตกน้ำ และทัศนียภาพสองฝั่งประเทศ ไทย-พม่า
ดื่มด่ำบรรยากาศริมชายหาด ณ ร้านอาหารเคียงเล
20.00
เข้าที่พัก โรงแรมทินิดี ระนอง หรือระดับเทียบเท่า พักผ่อนตามอัธยาศัย

หมายเหตุ
กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และสภาพภูมิอากาศ
อัตราค่าบริการ ผู้ใหญ่ (พักห้องละ 2 ท่าน) ราคาท่านละ 4,500 บาท
เด็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี พักกับผู้ใหญ่ 2 ท่าน ไม่มีเตียง) ราคาท่านละ 3,300 บาท
กรณีพักห้องเดี่ยว เพิ่มท่านละ 1,600 บาท


ค่าบริการนี้รวม
ค่ารถโค้ชปรับอากาศ / ค่าเรือล่องแม่น้ำตาปี / ค่าที่พัก ตามระบุ 3 คืน / ค่าอาหารตามระบุในรายการ /
ค่าประกันอุบัติเหตุในการเดินทาง ท่านละ 1,000,000 บาท / มัคคุเทศก์ / ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ ตามรายการระบุ
ค่าบริการนี้ไม่รวม : ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % หรือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย / ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายการ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทที่1 - บทที่ 6


สรุปวิชา HT201 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวคืออะไร
การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ
การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะทางเท่าใด
การท่องเที่ยว Tourismพ.ศ. 2506
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
การเดินทางไปพักฟื้น
การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกอล์ฟที่ต่างประเทศ
การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ
ตัวอย่างการเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
การเดินทางไปประกอบอาชีพ ด้วยรถ ๖ ล้อ
การเดินทางโดยไม่เต็มใจ
จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506
ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor)
จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist)
๒.นักทัศนาจร (Excursionist)
การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน
นักท่องเที่ยวหมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว อยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
นักทัศนาจรคือผู้มาเยือนชั่วคราว อยู่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน
แบ่งออกเป็น
-ผู้มาเยือนขาเข้าคือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
-ผู้มาเยือนขาออก คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
-ผู้มาเยือนภายในประเทศคือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่
**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้


วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น

แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
Holiday
Business
SIT
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
เพื่อธุรกิจ
เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา
การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักรอิยิปต์
อาณาจักร บาบิโลน
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
ยุคกลาง หรือ ยุคมืด
ประมาณ ค.ศ. 500-1500
-เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
-วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
-เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
-ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
-สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
-ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
พัฒนาการการท่องเที่ยวของไทยตั้งแต่ก่อตั้ง อสท. จนถึงปัจจุบัน
มหกรรมเอเชียนเกมส์ 2509
ช่วงวิกฤตการณ์การท่องเที่ยวของไทย พ.ศ. 2518-2524

กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน(พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร)
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว

ที่พักแรม
การคมนาคมขนส่ง
อาหารและเครื่องดื่ม
บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบสนับสนุน
การบริการข่าวสารข้อมูล
ความปลอดภัย
การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ร้านขายของที่ระลึก
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิด เนินทราย เป็นต้น
-ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน
-ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี
แหล่งท่องเที่ยว
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
จุดหมายปลายทางหมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
Scope
Primary Destination
Secondary Destination
Owner
-Government
-Non Profit Organization
-Private
Permanency
-Sites
-Festivals or Events
การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยว ตามการแบ่งของ ททท.
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง
อุทยานแห่งชาติ (National Park)
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
วนอุทยาน (Forest Park)
มรดกโลก (World Heritage) ในประเทศไทย
มรดกโลกในประเทศมี 5 แห่งด้วยกัน คือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991
แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005 /G3-23Jun08
แหล่งท่องเที่ยวประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง
กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
อนุสาวรีย์แห่งชาติ
อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
ย่านประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม"
Grand Destination
นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่น และมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
Grand Events & Grand Festivals
ในปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ เราได้รวบรวม สีสัน ความสนุกสนาน ตระการตา หลากรูปแบบ ทั้งประเพณี วัฒนธรรมและกีฬา
Grand Services
นำเสนอการให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่โดดเด่น ในเรื่องของโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การซื้อ สินค้าการเดินทางขนส่ง
Grand Opening
นำเสนอการเปิดแหล่งท่องเที่ยว หรือการให้บริการทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
หมายถึง การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ
ความเป็นมา
สมัยกรีก-โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางศาสนาและการค้า
ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ทำให้การบริการอาหารมีผลกระทบไปด้วย
ค.ศ. 1765 เกิดธุรกิจอาหารแบบภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเจอร์ (Monsieur Boulanger) เปิดร้านขายซุป ที่ชื่อว่า Restorantes
ค.ศ. 1782 มีภัตตาคารที่แท้จริงชื่อว่า Grande Taverne de Londres ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ในอเมริกา มีภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Delmonico
ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลังๆ มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร อาทิเช่น McDonald ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1948
ประเทศไทย
ยุคแรก เนื่องจากคนไทยนิยมประกอบอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารที่เปิดส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนที่เปิดในย่านสำเพ็งให้บริการแก่ชาวจีนและประชาชนทั่วไป
สมัยรัชกาลที่ 4-ปัจจุบัน ประชาชนมีอิสระจากการเลิกระบบทาสและไพร่ ผู้คนมีอิสระในการดำเนินชีวิต
ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ (Buffets)
-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้าสามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ในปริมาณที่ไม่จำกัด “All you can eat”
ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops)
-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ ราคาไม่แพงมาก
ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว
ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการระดับสูง
ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ(Ethic Restaurants)
-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ พนักงาน การตกแต่งร้านก็มีลักษณะเน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน
อาหารไทย ( Thai Food)
ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์
3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม
4. อาหารว่างและขนม
ภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินเป็นดินร่วนปนทราย เก็บน้ำไม่ได้ดี อาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม(Food and Beverage Service Operations)
การดำเนินงานด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ
-มีประเภทของอาหารไม่มาก
- ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
สำหรับอาหารที่มีไว้บริการในโรงแรม ส่วนมากเป็นแบบตะวันตก แบ่งเป็นมื้อได้ดังนี้
อาหารเช้า Breakfast คืออาหารที่รับประทานช่วง 8.00-9.00 น.
อาหารเช้าแบบยุโรป (European Breakfast)
ประกอบด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนย กาแฟน ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
อาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast)
ประกอบด้วย น้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วย ชา กาแฟ
อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) รับประทานช่วงเวลา 9.30-11.30 น. หนักกว่ามื้อเช้า
อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon
รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย
อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entress) ประเภทอาหารทะเล
อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหาร
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภท
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
4. การส่งเสริมการขาย (promotion) ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึง

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

ของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

บทคัดย่อ

บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งประวัติของเขาบันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวาง

ประวัติของปิ่นโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบราในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุ10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กใช้ของสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา ปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิวในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปี ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ ใกล้เมืองอัลมาดา ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinaçãoขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดางานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ ใน ค.ศ.1983 “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ

งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียงจุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação”

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16

กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”

ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงอย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา ที่ระบุในบันทึกของเขา และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝังจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขาหนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยาหนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา
หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา

หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร
สรุป

ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

น้ำตกเอราวัณค่ะ


น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ"

สิ่งที่รู้สึกได้เมื่อมาถึงยังบริเวณน้ำตก คือความเย็นสบายแต่เมื่อได้เห็นตัวน้ำตกก็ต้องตะลึงในความงามของตัว น้ำตกที่น้ำใสแจ๋ว มองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ผืนน้ำที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำใน สระว่ายน้ำ ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะของภูเขาใน อุทยานฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู หรือปะการังดังนั้นน้ำตกเอราวัณที่ไหลมาจากเทือกเขาหินปูนจึงมีสารละลายของ แคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่ ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตนี้จะตกตะกอนในบริเวณที่มีน้ำไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ชั้นน้ำตกมีคราบหินปูนก่อตัว และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายก็สามารถ ตก ตะกอนได้ น้ำตกหินปูนจึงมีน้ำใสในตอนบน และมีการตกตะกอนขุ่นในช่วงล่างของธารน้ำ เมื่อแสงส่องลงมาจะ ทำให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกตสวยงามมาก

ค่าธรรมเนียมเข้าชม
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เปิดเวลา 7.30-16.00 น.- ค่าธรรมเนียมผู้ใหญ่ 40 บาท/คน เด็ก 20 บาท/คน - รถกอล์ฟคิดค่าบริการเที่ยวละ 20 บาท/คน

สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติเอราวัณมีบ้านพัก เต็นท์และค่ายพักแรม มีร้านค้า ขายอาหารมากมายหลายร้านไว้บริการ นักท่องเที่ยว ติดต่อสอบ ถามรายละเอียดและสำรองที่พัก ได้ที่ฝ่ายบริการบ้านพัก ส่วนอำนวยการสำนักอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ิกรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ 5614292 - 4 ต่อ 724,725 หรือติดต่ออุทยานแห่งชาติ โดยตรง อุทยานแห่งชาติเอราวัณต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 71250 โทรศัพท์ 0 3457 4222, 0 3457 4234 โทรสาร 0 3457 4288, 0 3457 4234 หมายเหตุ: อุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปในบริเวณน้ำตกเกินชั้น 3 เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดและ ความเป็นธรรมชาติเอาไว้